วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559



กฎระเบียบจราจร

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก




พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2538
   การจราจร มีบัญญัติอยู่ใน พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522” (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2538) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้ถนนหรือทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่ต้องเดินทางเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันและเป็นกฎหมายใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่ทุกคนควรรู้และนำไปปฎิบัติ คำอธิบายนี้จะหยิบยกมาเฉพาะเรื่องที่น่ารู้ และการปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นสำคัญ
1. สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร
(1) สัญญาณ หมายความว่า สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธงไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียง นกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใด สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือ ไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น เช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง เป็นต้น
(2) เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฎในเสียสุขภาพให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น เช่น เครื่องหมายห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามกลับรถ หรือห้ามจอด เป็นต้น

2. สภาพรถและแผ่นป้ายทะเบียนรถ
(1) ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสาร หรือประชาชนใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
(2) ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผนป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียน หรือ ป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

3. การขับรถ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้เดินทางขวาหรือล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
ก. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือปิดการจราจร 


ข. ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว 

ค. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 200 บาท ถึง 500 บาท
(2) รถที่มีความเร็วช้าหรือต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
รถบรรทุก รถบรรทุกโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้านสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

4. ใบอนุญาตขับรถ


ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที การขอใบอนุญาตขับรถนั้น ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด โดยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ 

ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


5. ผู้ขับขี่และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวม หมวกนิรภัย


ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยายนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย ในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ในท้องที่ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป
(2) ในเขตท้องที่จังหวัดของแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พิษณุโลก สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และอุบลราชธานี ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่ 15 กันยายน 2536 เป็นต้นไป
(3) ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับ 15 กันยายน 2537 เป็นต้นไป ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

6. ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารรถยนต์ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยในขณะโดยสารรถยนต์ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

7. ห้ามมิให้เสพยาบ้า (แอมเฟตามีน) ขณะขับรถ


ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน (ยาบ้า) หรือวัตถุออกฤทธิต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันกำหนดโดยประกาศในราชกิจจนุเบกษา เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจัดให้มีการตรวจสอบทั้งประเภทตามที่กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกาาว่าได้เสพหรือรับเข้าร่างกายด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทอย่างอื่นที่กำหนดหรือไม่ ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่


8. ห้ามมิให้แข่งรถในทางหรือถนน


ห้ามมิให้ผู้ใดแข่งรถในทางหรือจัดสนับสนุน หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร 

ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่



9. กรณีชนแล้วหนี

กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดพิเศษเพิ่มขึ้นอีกกระทงหนึ่งต่างหากกล่าวคือ ถ้าผู้ขับรถโดยประมาทชนคนตายแล้วหลบหนี ผู้นั้นจะต้องรับโทษ 2 กระทง คือ จะต้องรับโทษฐานชนแล้วหนีอีกกระทงหนึ่งรวมเป็น 2 กระทง ความผิดฐานชนแล้วหนีมีหลักเกณฑ์ดังนี้

เมื่อขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์แล้วไปทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของตนหรือไม่ก็ตามต้องปฏิบัติดังนี้


1. ต้องหยุดรถหรือสัตว์และให้ความช่วยเหลือตามสมควรทันที


2. แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที


3. ต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตน และเลขหมายทะเบียนรถแก่ผู้เสียหายด้วย

ถ้าผู้ขับขี่หรือขี่รถควบคุมสัตว์หลบหนีไป กฎหมายให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่และถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ไม่แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสถึงตาย ต้องระวางโทษสูงขึ้น คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


(1) ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน 


(2) ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตรนับจากทางข้ามห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามนอกทางข้าม 


(3) คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางเข้าที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฎต่อหน้าดังต่อไปนี้

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้า ให้หยุดบนไหล่ทางหรือขอบทาง

เมื่อมีสัญญาจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินได้

เมื่อมีสัญญาจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถ ให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว


(4) คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะเดินข้ามทางเดินรถในทางข้าม หรือทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรควบคุมการใช้ทาง ให้ปฏิบัติดังนี้

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ให้หยุดรถทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถตามที่หยุดนั้น และต้องข้ามทางเดินรถภายในทางข้าม

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟเขียว ให้รถผ่านทางด้านใดของทางห้ามมิให้คนเดิมเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันหรือไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้เข้าทางเดินรถหยุดรอบนทางเดินบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถอยู่ในทางข้าม ให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว


(5) ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่

เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน

แถวหรือขบวนแห่หรือขบวนใด ๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด



กฎหมายจราจรที่ใช้เป็นหลักในประเทศไทย ก็คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 เหตุผลหลักง่ายๆ ที่ต้องมีกฎหมายจราจรมาใช้บังคับก็เพื่อให้เกิดความสะดวก(รถไม่ติดขัด) และปลอดภัย(ไม่เกิดอุบัติเหตุ) นั่นเอง




1. เขตปลอดภัย หมายความว่า
พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป เช่น บริเวณที่ทาสีขาวกลางถนน หรือที่เรียกว่าเกาะสมมุติ เป็นต้น




2. ที่คับขัน หมายความว่า

ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้า ว่าอาจเกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย



3. เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีแดง จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด (เส้นที่ขีดขวางถนน) เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวาง




4. การจราจร แล้วให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง



มื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีเหลือง จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและขับผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง



5. สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง

ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้



6. สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง

ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้


7. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “หยุด” หมายความว่า รถทุกชนิดต้องหยุดให้รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้วเคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง


8. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ให้ทาง” หมายความว่า รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง


9. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ให้ชิดซ้าย” หมายความว่า ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเครื่องหมาย


10. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “วงเวียน” หมายความว่า ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียน และรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณ วงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่แล่นอยู่ในรอบวงเวียนผ่านไปก่อน ห้ามขับรถหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในเขตทางรอบบริเวณวงเวียน


11. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ห้ามกลับรถ” หมายความว่า ห้ามมิให้กลับรถไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย


12. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ห้ามแลี้ยวซ้าย” หมายความว่า ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย


13. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ห้ามจอดรถ” หมายความว่า ห้ามจอดรถทุกชนิดในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย


14. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ทางลื่น” หมายความว่า ทางข้างหน้าลื่นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังการลื่นไถล อย่าใช้ห้ามล้อโดยแรงและทันที การหยุดรถ การเบารถ หรือเลี้ยวรถ ในทางลื่นต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ


15. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “สัญญาณไฟจราจร” หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ ให้ผู้ขับขี่รถเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที


16. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ทางโค้งซ้าย” หมายความว่า ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอมสมควร และเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง


17. เครื่องหมาย หมายความว่า

เครื่องหมาย “ทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง” หมายความว่า ให้ขับรถให้ช้าลงให้มากและสังเกตดูรถไฟทั้งขวาและทางซ้าย ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอคอยจนกว่ารถไฟนั้นผ่านพ้นไป และปลอดภัยแล้วจึงเคลื่อนรถต่อไปได้ ห้ามมิให้ขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะที่อาจจะเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด

18. รถลักษณะใดที่ห้ามนำมาใช้ในทาง


1. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น รถที่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุด รถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น

2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถกำหนด
3. รถที่มีเสียงอื้อึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราม หรือรถที่ใช้ในราชการตำรวจ
5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้า ห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคนขับด้วย)
7. รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปี
8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง

19. ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย



20. ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด

1. ใบอนุญาตขับรถ
2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ


21. ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

1. ให้ผู้ขับขี่รถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถ หรือเส้นหรือแนวที่แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่สวนทางขับผ่านมาก่อน


22. การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้ และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนทางมา หากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสวนทางรถขับผ่านมาก่อน



ข้อหาหรือฐานความผิดตามกฎหมายที่ควรทราบ


1. ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538)และการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิด นั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (กรมตำรวจ) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 ก.ค. 40 และเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2540 ตามลำดับ

1. นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสีย สุขภาพอนามัย มาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

2. นำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

3. นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่นควัน ละอองเคมี เกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท

4. นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท

5. ขับรถในทางไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างในเวลาที่มีแสง สว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ 150 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 200 บาท

6. ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 300 บาท

7. ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดิน รถไม่ติดธงสีแดง ไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายใน ระยะ 150 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

8. ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิด หรือ วัตถุอันตรายไม่จัดให้มีป้าย แสดงถึงวัตถุ ที่บรรทุก จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปรับ 300 บาท

9. ขับรถไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจาก รถอันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

10. ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏ ในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

11. ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

12. ไม่หยุดรถหลังเส้น ให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

13. ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏด้วยมือ ปรับไม่เกิน 
1,000 บาท ปรับ 300 บาท

14. ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด หรือหยุดรถห่างจากพนักงาน เจ้าหน้าที่น้อยกว่าสามเมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

15. ทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มี
อำนาจ จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -

16. ไม่ขับรถที่มีความเร็วช้าให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายในทาง เดินรถที่มีสวนกันได้ ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท ปรับ 200 บาท

17. ไม่ขับรถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ที่มีความเร็วช้าในช่องเดินรถซ้ายสุด ในทางเดินรถที่แบ่ง ช่องเดินรถไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ปรับตั้งแต่ 400-1,000บาท -

18. เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ ปรับตั้งแต่ 400-1,000บาท ปรับ 400 บาท

19. ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

20. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -

21. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ 400 –1,000 บาท ปรับ 400 บาท

22. ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็น สำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ) ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

23. ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

24. ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นขณะขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง ซึ่งไม่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาทปรับ 400 บาท

25. ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

26. ขับรถออกจากที่จอดเมื่อมีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าโดยไม่ให้ สัญญาณมือหรือแขน หรือสัญญาณไฟ ปรับไม่เกิน 1,000 บาทปรับ 400 บาท 27 กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท ปรับ 200 บาท 28 กลับรถในระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพาน ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ปรับ 400 บาท

27. กลับรถที่ทางร่วมทางแยก(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้) ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

28. หยุดรถหรือจอดรถในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

29. ไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

30. จอดรถไม่ขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างเกินกว่า 25 ซม. ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

31. หยุดรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลสมควร ปรับไม่เกิน 500 บาทปรับ 200 บาท

32. หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถโดยไม่มีเหตุผลสมควร ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

33. จอดรถบนทางเท้าปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

34. จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

35. จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือภายในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

36. จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอดปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

37. จอดรถภายในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

38. จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

39. ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับ รถ มิให้เคลื่อนย้าย จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือ ปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -

40. จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางโดยไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างเพียงพอ ที่จะเห็นรถที่จอดนั้นได้ชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ปรับตั้งแต่ 200 – 500บาท ปรับ 200 บาท

41. ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท ปรับ 400 บาท

42. ไม่ยอมให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน เมื่อขับรถถึงทางร่วมทาง แยกทีหลัง ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

43. ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดช่วยเหลือแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ เคียง ทันที. จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -

44. ขับรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร (เว้นแต่ กรณีจะเกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร) ปรับไม่เกิน 1,000 บาปรับ 300 บาท

45. ไม่เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทางเมื่อทางนั้น มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 200 บาท ปรับ 100 บาท

46. เดินข้ามทางนอกทางข้าม เมื่อมีทางข้ามอยู่ภายในระยะ100 เมตร ปรับไม่เกิน 200 บาท ปรับ 100 บาท

47. ขี่ จูงไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

48. วาง ตั้ง ยื่น หรือ แขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

49. ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยมปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

50.โดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยมปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

51. ยินยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับคนขับเกิน 2 คนปรับไม่เกิน 500 บาทปรับ 200 บาท

52. เป็นผู้ขับรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกคนโดยสารรถโรงเรียน รถแท็กซี่ ยินยอมให้ผู้โดยสารขึ้นหรือลง รถยนต์ในขณะที่รถหยุดเพื่อรอสัญญาณไฟ หรือหยุดเพราะติดการจราจร ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

53. ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง50 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

54. กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางอันเป็นการกีดขวางของการจราจรปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

55. ฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับหรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งหรือ ประกาศ ห้าม หยุดหรือ จอด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท




ข้อหาหรือฐานความผิด
   มารยาทในการขับรถ

     เป็นสิ่งที่ผู้คนทุกคนพึ่งจะต้องมีและปฏิบัติอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะรีบร้อนเพียงใดก็ตาม เพราะทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนก็คงรีบร้อนเหมือนๆ กัน และหากท่านไร้ซึ่งมารยาทในการขับรถและการใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น ก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาระหว่างผู้ขับขี่ได้ ดังนั้นการตระหนักถึงมารยาทในการขับรถและปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จะช่วยให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปได้อย่างราบรื่นและดีที่สุด


34 คำแนะนำเพื่อการขับขี่อย่างปลอดภัย
1.ตรวจสอบว่าเข็มขัดนิรภัยยังใช้งานได้ดีหรือไม่ โดยการกระตุกดึงสายเข็มขัดอย่างรวดเร็ว แล้วสายเข็มขัดต้องล็อค นั้นหมายความว่าเข็มขัดนิรภัยยังคงใช้งานได้ดี

2.การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ถูกต้องคือขึ้นเบรกมือ-ปลดเกียร์ว่าง-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า-เหยียบเบรก-สตาร์ทเครื่องยนต์

3.เพื่อความปลอดภัยเมื่อออกรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ประมาณ 3-4 เมตร ควรทดสอบระบบเบรกเป็นอันดับแรก

4.ขณะขับรถหากเกิดคันเร่งค้างควรตั้งสติให้ได้เป็นอันดับแรก

5.การขับรถช่วงฤดูฝนควรตรวจสอบที่ปัดน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอว่าสามารถใช้ได้ปกติหรือไม่

6.การขับรถในขณะที่ฝนตกให้เปิดไฟส่องสว่าง

7.การขับรถในขณะฝนตกผู้ขับขี่ไม่ควรปิดไฟฉุกเฉินตลอดเส้นทาง ควรเปิดไฟเป็นระยะอยู่ตลอดขณะที่ฝนตก

8.ขณะขับรถลุยน้ำต้องเร่งเครื่องยนต์มากกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับ

9.น้ำฝนจะกลายเป็นเหมือนแผ่นฟิล์มที่รองรับระหว่างยางกับพื้นถนน จึงทำให้ลื่นไถลได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนกำลังเริ่มตกใหม่ๆ

10.เมื่อฝนเริ่มตกหนักในขณะที่ท่านขับรถอยู่ในเขตที่จำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท่านควรชะลอความเร็วลงให้น้อยกว่าที่กำหนด

11.การหยุดรถในขณะที่ฝนตกจะใช้ระยะทางมากกว่าการหยุดรถปกติ

12.หลังจากขับรถผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ท่านควรทดสอบระบบเบรกของรถว่ายังใช้งานได้เป็นปกติอยู่หรือไม่

13.หากท่านจอดรถในทางเดินรถหรือบนไหล่ทางในเวลากลางคืน ท่านจะต้องเปิดไฟหรี่ มิฉะนั้นอาจทำให้รถขับมาใบบริเวณที่ท่านจอดรถได้

14.เมื่อรถเกิดเสีย ควรนำรถจอดเข้าข้างทางแล้วเปิดไฟฉุกเฉินไว้

15.รถที่ขับมาด้วยความเร็วสูงแล้วเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน (รถไม่ใช่ระบบเบรก ABS) จะส่งผลให้ล้อล็อคและทำให้รถหมุนได้

16.หากยางรถเกิดแตกหรือระเบิดขณะขับรถ พวงมาลัยรถจะหนักและรถจะเอียง ท่านจะต้องพยายามคุมสติ บังคับพวงมาลัยและลดความเร็วลง และที่สำคัญไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหันเป็นอันขาด

17.วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อรถเกิดไฟลัดวงจร คือ ตัดกระแสไฟหรือหาทางตัวขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน

18.การจอดรถชิดขอบทาง ล้อหน้าควรอยู่ในลักษณะตรงและขนานกับขอบทางหรือฟุตบาท

19.หากท่านจอดรถชิดขอบทางทางด้านซ้ายอยู่ และต้องการที่จะเคลื่อนตัวออก ท่านควรมองดูรถที่ตามมาผ่านกระจกมองข้างและกระจกมองหลัง จากนั้นเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวา

20.การเข้าเกียร์ถอยหลังขณะรถยังไม่หยุดนิ่ง มีผลเสียทำให้การเข้าเกียร์เป็นไปได้ยากและทำให้ระบบเกียร์เสียเร็วกว่าปกติ

21.ผู้ขับขี่จะต้องหันหน้ามองไปทางด้านข้างก่อนเปลี่ยนช่องจราจร เพื่อตรวจดูจุดบอดของรถด้านขวา
22.ในการขับขี่บนทางลาดชัน ผู้ขับขี่ควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อหน่วงความเร็วของรถ

23.ไม่ควรใช้เบรกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานในขณะขับขี่ลงทางลาดชันเพราะจะทำให้ผ้าเบรกไหม้

24.สำหรับการขับขี่ในเวลากลางคืน ควรขับให้ช้ากว่าปกติหรือไม่เร็วกว่าสายตาที่มองเห็น

25.เมื่อขับรถในเวลากลางคืน ผู้ขับขี่ควรทิ้งระยะห่างระหว่างรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ

26.การเลี้ยวรถที่ทางบังคับเลี้ยวเป็นการขับขี่ทางลักษณะที่ไม่จำเป็นต้องให้สัญญาณไฟเลี้ยว

27.หลักการขับรถเข้าโค้งที่ถูกต้องควรลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง เพิ่มความเร็วขณะออกจากโค้ง

28.ความไม่พร้อมของคนขับมีผลต่อการเกิดสถานการณ์อันตรายมากที่สุด

29.การเปิดไฟสูงในขณะที่ไม่มีรถสวนทางเป็นการเปิดไฟสูงในสถานการณ์ที่ถูกต้อง

30.การเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินตลอดเวลาเพื่อทำให้ผู้ขับขี่คันอื่นเข้าใจว่าเป็นรถที่ขับเร็วเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

31.การเปิดไฟหน้ารถเมื่อต้องเร่งรีบไปทำงานเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง

32.การบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดทำให้รถเปลืองน้ำมัน

33.การหมุนพวงมาลัยรถขณะจอดรถอยู่กับที่จะส่งผลให้ดอกยางสึกเร็วกว่าปกติ


34.รถจะประหยัดน้ำมันขึ้นหากขับขี่รถด้วยความเร็วคงที่

    จากทั้ง 34 คำแนะนำในการขับขี่อย่างปลอดภัยในข้างต้น คงจะเป็นประโยชน์ต่อการขับขี่จริงๆ ในชีวิตของคุณไม่มากก็น้อย และสำหรับผู้ที่กำลังจะสอบใบขับขี่ ก็ควรจะให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำให้ผู้ขับขี่หน้าใหม่เช่นคุณ สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ขับรถท่านอื่น




โดย

ด.ช.ศักดิธัช  ดนัยนารีกุล  เลขที่ 16 ชั้น ม.3/2

ด.ญ.จิตรกัญญา  วรสีหา  เลขที่  21 ชั้น ม.3/2

เสนอ

คุณครู ธีรพล  คงมีผล

โรงเรียนเทศบาล3วัดชัยชนะสงคราม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น